บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร. จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 22 มีนาคม2559
ครั้งที่ 12 เวลา 14.30 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ ...
วันนี้แต่ละกลุ่มได้ทดลองสอนแผนเสริมประสบการณ์ (วันพุธ) และสอนแผนเสริมประสบการณ์(วันพฤหัสบดี)
กลุ่มที่ 1 หน่วย ส้ม
โดยนางสาวพรวัลญช์ คงสัตย์
คำแนะนำ - การเคาะให้ตรงกับจังหวะ
- ครูควรพูดให้เด็กเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ ไม่ควรพูดให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ
- ไม่ควรใช้คำถามถามเด็กว่าส้มมีประโยชน์อย่างไร เพราะไม่ใช้การบรรยาย ควรให้เด็กได้แสดงท่าทางออกมา
โดย นางสาวสกาวเดือน สอิ้งทอง
คำแนะนำ - การสอนให้ตรงกับแผนการสอนที่เขียน
- เวลาเคาะจังหวะให้เคาะในระดับพอดีไม่ดัง เบา เกินไป
- การสั่งให้เด็กเคลื่อนไหวตามคำสั่งควรสั่งทีละท่าทาง
กลุ่มที่ 2 หน่วยเห็ด
โดยนางสาวภัสสร ศรีพวาทกุล
คำแนะนำ - กิจกรรมพื้นฐานควรมีท่าทางที่แปลกใหม่ต่างไปจากการเดิน เพราะจะทำให้เด็กไม่เบื่อเวลาทำกิจกรรม
- การเขียนวัตถุประสงค์ไม่ควรเขียนว่า เพื่อให้ ควรเขียนเป็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา
โดยนางสาวพรวิมล ปาผล
คำแนะนำ - การเขียนแผนตรงสาระที่ควรเรียนรู้ให้ระบุถึงประโยชน์ของเห็ด
กลุ่มที่ 3 หน่วยกล้วย
โดย นางสาวกันยารัตน์ หนองหงอก
คำแนะนำ - กิจกรรมเคลื่อนไหว ( บรรยาย ) ไม่ควรทำติดต่อกัน 2 วัน
- เวลาใช้คำสั่งกับเด็ก ควรพูดให้เด็กฟังก่อน
- เนื้อหาที่สอน ประโยชน์ของกล้วย ผู้สอนต้องมีความรู้ในเรื่องประโยชน์ของกล้วย
โดยนางสาวณัฐชยา ตุคุณนะ
คำแนะนำ - การเขียนแผนตรงสาระที่ควรเรียนรู้ต้องบอกถึงการเลือกซื้อกล้วยว่ามีวิธีการอย่างไร
กลุ่มที่ 4 หน่วยผีเสื้อ
โดย นายวรมิตร สุภาพ
คำแนะนำ - การเคาะจังหวะในกิจกรรมพื้นฐาน
โดยนางสาวณัฐชยา ชาญณรงค์
คำแนะนำ - การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ในเรื่องที่สอน
กลุ่มที่ 5 หน่วยผัก
โดย นางสาวทิพย์มณี สมศรี
คำแนะนำ - การบรรยายการเลือกซื้อผัก ควรชัดเจน
โดย นางสาวอินธุอร ศรีบุญชัย
คำแนะนำ - ในการบรรยายให้เด็กไปหยิบผักควรให้เด็กนับเลขไปด้วย เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่ 6 หน่วยยานพาหนะ
โดย นางสาวอรุณี พระนารินทร์
คำแนะนำ - การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ คือ พลังงานที่ใช้ในยานพาหนะ
- การเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวที่แปลกใหม่ต่างไปจากการเดิน
โดย นางสาวธนาภรณ์ ใจกล้า
คำแนะนำ - ความมั่นใจในตนเองต่อการสอน
- คำพูด ภาษา ที่ใช้ในการสอนไม่ควรยากเกินไป
- ต้องมีความรู้ในเรื่องที่สอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น